หลักการ ทฤษฎี เกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555

หลักการ แนวคิด  ทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ
แนวคิดเกี่ยวกับนวัตกรรม
 
    นวัตกรรม  หมายถึง สิ่งที่ทำขึ้นใหม่หรือแปลกจากเดิม  เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว และสิ่งที่ได้มักนำพาความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามา  ใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ อันรวมถึงการถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่
 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
กระบวนการของนวัตกรรม
 กระบวนการของนวัตกรรมมีดังนี้คือ 
1.
 ขั้นความคิด  คือ  การนึก คิด แนวทาง หรือกระบวนการแห่งนวัตกรรมนั้นๆขึ้นมา  เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของมนุษย์ทั้งในทิศทางบวก  และทิศทางลบ
2.ขั้นเสาะแสวงหาโอกาส
  คือ  การใช้โอกาสในวาระต่างๆ  นำเอานวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ หรือแนวคิดนั้นๆไปทดลองใช้
3.ขั้นพัฒนา
  คือ  การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปปรับใช้  เปลี่ยนแปลง  ให้เกิดภาวการณ์ก้าวข้ามผ่านสิ่งเก่า  
4.
 ขั้นแพร่กระจาย  คือ  นวัตกรรมนั้นๆได้รับการนำไปใช้ในวงกว้าง  อย่างแพร่หลาย  จนกลายเป็นเทคโนโลยีในอนาคต
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
             นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ  (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต  [Internet]
ความหมายของนวัตกรรมการเรียนการสอน 
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นวัตกรรมที่ นำมาใช้อาจมีผู้คิดขึ้นก่อนแล้ว หรือคิดขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์ นวัตกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นแนวคิดหรือวิธีการ เช่น รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หรืออาจมีลักษณะเป็นสื่อการเรียนการสอน เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ และชุดการสอน

ลักษณะของนวัตกรรม
1. เป็นสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการใหม่
   -  คิดหรือทำขึ้นใหม่    - เก่าจากที่อื่นพึ่งนำเข้า       - คัดแปลงปรับปรุงของเดิม
  -  เดิมไม่เหมาะแต่ปัจจุบันใช้ได้ดี - สถานณ์การเอื้ออำนวยทำให้เกิดสิ่งใหม่
2. เป็นสิ่งได้รับการตรวจสอบหรือทดลองและพัฒนา
3. นำมาใช้หรือปฏิบัติได้ดี
4.  มีการแพร่กระจายออกสู่ชุมชน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม
 
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)    - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- เครื่องสอน (Teaching Machine)                           - การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
    - ศูนย์การเรียน (Learning Center)            - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
    -การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด เช่น
 - การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)            - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
 - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)                        - การเรียนทางไปรษณีย์
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด                                             - การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป    - ชุดการเรียน

เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม
 
เกณฑ์การพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมมี  4 ประการ คือ
1. นวัตกรรมจะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด หรือบางส่วนอาจเป็นของเก่าใช้ไม่ได้ผลในอดีต แต่นำมาปรับปรุงใหม่ หรือเป็นของปัจจุบันที่เรานำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น
2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่นำเข้าไปในกระบวนการและผลลัพธ์ โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่า "สิ่งใหม่" นั้นจะช่วยแก้ปัญหาและการดำเนินงานบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบันหาก "สิ่งใหม่" นั้น ได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าสิ่งใหม่นั้นเป็น นวัตกรรมแต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีอย่างเต็มที่

ประเภทของนวัตกรรม
 
1. แบ่งตามลักษณะของการสร้างนวัตกรรม
 นวัตกรรมส่วนเพิ่ม (incremental innovation)
 นวัตกรรมที่เพิ่งค้นพบ (breakthrough innovation)
2. แบ่งตามลักษณะการใช้นวัตกรรม
 นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation)
 นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation)

ความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
1. นวัตกรรมเป็นแนวคิด แนวปฏิบัติ หรือการกระทำใหม่ ๆ จะเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน 
ก็ได้แต่เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับจนกลายเป็นแนวปฏิบัติ
2.  นวัตกรรมอยู่ในขั้นการเอาไปใช้ในกลุ่มย่อยเพียงบางส่วนไม่แพร่หลายแต่เทคโนโลยีอยู่ในขั้นการ
นำเอาไปปฏิบัติกันในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นเรื่องธรรมดา
นวัตกรรมการศึกษา 

นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ
 ได้แก่
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สาเหตุการเกิดขึ้นของนวัตกรรมการศึกษา
 
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียน
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม

 ขอบข่ายนวัตกรรมทางการศึกษา 
1. การจัดการเรื่องการสอนด้วยวิธีการใหม่ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตัวเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ๆ
6. การจัดการด้านการวัดผลแบบใหม่

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
 
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC Web Quest Weblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ตการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษา
 
การนำนวัตกรรม มาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ
1. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
2. ประสิทธิผล (Productivity) ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน

แนวคิดหลักของเทคโนโลยี
 1.  กิจกรรมเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์
 2.  เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้น ต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ  ธรรมชาติสร้างต้นไม้ พืช สัตว์ แม่น้ำ มหาสมุทร ภูเขา  ส่วนมนุษย์สร้างสิ่งก่อสร้าง เครื่องบิน รถยนต์ เตารีด ตู้เย็น โทรศัพท์ ฯลฯ
 3.  เทคโนโลยีสร้างขึ้นเพื่อช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ดีขึ้น (better) เร็วขึ้น (faster) และ ค่าใช้จ่ายถูกลง (cheaper) 4.  มนุษย์ใช้ความรู้ ความคิด จินตนาการ และทรัพยากรในรูปต่าง ๆ เช่น วัสดุ เครื่องมือ เครื่องจักร ข้อมูล ฯลฯ  ในการสร้างเทคโนโลยี
 5.  เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมีผลกระทบต่อสังคม การนำเทคโนโลยีไปใช้ มีทั้งคุณและโทษ ต่อสังคม ถ้าเลือกผิดและใช้ไม่เหมาะสมอาจเป็นโทษได้
          การจัดการเรียนการสอนในสาระการออกแบบและเทคโนโลยี จะช่วยให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดแก้ปัญหา ใช้จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ให้สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและสามารถสร้างเทคโนโลยีให้ตอบสนองความต้องการของสังคมได้
 Technological System ระบบเทคโนโลยี
             เทคโนโลยี มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน แต่ละส่วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ประกอบด้วย
           1.  Input  คือ ความต้องการของมนุษย์ (Need หรือ Want) หรือปัญหาที่ต้องการคำตอบ เช่น ความต้องการปัจจัยสี่ ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ยารักษาโรค
           2.  Technological Process  คือขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อ Input ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Change) จากทรัพยากร มาเป็น ผลผลิตหรือผลลัพธ์  ข้นตอนของ Technological Process  ประกอบด้วย
                 2.1  การกำหนดปัญหา หรือความต้องการ
                 2.2  การรวบรวมข้อมูลเพื่อหาวิธีการแก้ปัญหา หรือ สนองความต้องการ
                 2.3  เลือกวิธีการแก้ปัญหา หรือ สนองความต้องการ
                 2.4  ออกแบบและปฏิบัติการ
                 2.5  ทดสอบ ทดลอง
                 2.6  ปรับปรุงแก้ไข
                 2.7  ประเมินผล
            3.  Output or Outcome คือสิ่งที่ออกมาจาก Process ได้สิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการของมนุษย์
            4.  Resource ทรัพยากร ประกอบด้วย
                 4.1 Human                 4.2 Data and Informations                 4.3 Materials                 4.4 Machine and Tools                 4.5 Energy                 4.6 Capital and Asset                 4.7 Time            5.  Consideration   คือ ข้อจำกัด ข้อพิจารณา หรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ที่จะทำให้ระบบทำงานได้มากหรือน้อยต่างกัน อาจเกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางเทคโนโลยี ทรัพยากรจะเป็นทั้งตัวทรัพยากร และ เป็นปัจจัย ที่เอื้อ หรือ ขัดขวาง ต่อเทคโนโลยี เช่น ทุนน้อย เวลาจำกัด ข้อจำกัดของความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล
แนวคิดหลักทางเทคโนโลยี
แนวคิดที่ 1 เน้นสื่อ (สื่อ+อุปกรณ์) เป็นแนวคิดที่นำผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ที่มีทั้งวัสดุสิ้นเปลือง (Software) และอุปกรณ์ที่คงทนถาวร (Hardware) แนวคิดนี้เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการฟังด้วยหู และชมด้วยตา สิ่งที่เกิดขึ้นจากการเน้นสื่อถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของครู นักเรียนซึ่งถือได้ว ่ าเป็นตามแนวคิดทางวิทยาศาสตร์กายภาพ (Physical Science Concept) ตัวอย่างของสิ่งที่เกิดขึ้น อาทิเช่น เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องรับโทรทัศน์ ภาพยนตร์ คอมพิวเตอร์ และรายการอื่นๆ ที่อยู่ในรูปของอุปกรณ์ (Hardware) และวัสดุ (Software)
แนวคิดที่ 2 เน้นวิธีการ (สื่อ+อุปกรณ์ + วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษย์วิทยา และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ เน้นวิธีการจัดระบบ (System Approach) ที่ใช้ในการออกแบบ การวางแผน ดำเนินการตามแผน และประเมินกระบวนการทั้งหมดของการเรียนการสอน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างเฉพาะเจาะจง ด้วยการใช้ผลการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ การสื่อสาร เป็นพื้นฐานการดำเนินงาน ซึ่งถือได้ว ่ าเป็นตามแนวคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science)

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้ ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว
สารสนเทศ (Information) หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิหรือรูปภาพ
ความรู้ (knowledge)  คือ การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจ ในองค์ประกอบต่าง ๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้
     ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นการนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ          ระบบสารสนเทศเพื่อการจัด(Management Information Syatems: MIS)เป็นระบบที่ให้ข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้างเจ้าของกิจการ ลูกค้า และบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การสาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศเกิดขึ้นจากปัจจัยต่อไปนี้1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่2. พัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศลักษณะของสารสนเทศมีดังต่อไปนี้1. ถูกต้องแม่นยำ Accurate2. สมบูรณ์ครบถ้วน Complete

3. เข้าใจง่าย Simple
4. ทันต่อเวลา Timely
5. เชื่อถือได้ Reliable
6. คุ้มราคา Economical
7. ตรวจสอบได้ Verifiable
8. ยืดหยุ่น  Flexible
9. สอดคล้องกับความต้องการ Relevant
10. สะดวกในการเข้าถึง Accessible
11. ปลอดภัย Secure
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์มี 6 ส่วนดังนี้
1. ฮาร์ดแวร์ Hardware
2. ซอฟต์แวร์ Software
3. ข้อมูล Data
4. การสื่อสารและเครือข่าย Telecommunications
5. กระบวนการทำงาน Procedure
6. บุคลากร People
ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
     ระบบสารสนเทศเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบธุรกิจปัจจุบันองค์การต่าง ๆ ได้พัฒนาแผนงานและกลยุทธ์ด้านสารสนเทศเพื่อใช้สนับสนุนการตัดสินใจและความได้เปรียบในการแข่งขัน เช่น
     - การท้าทายของเศรษฐกิจ
     - การแข่งขันทางการค้า
     - การขยายเครือข่ายทางการค้า
     - ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
สารสนเทศประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ส่วนรับข้อมูล
2. ส่วนประมวลผล
3. ส่วนแสดงผล
นิยามระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เกิดขึ้นจากรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้
1. การรวมผู้ใช้กับเครื่องเข้าด้วยกัน ปัจจุบันใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยในการประมวลผลข้อมูลได้ รวดเร็ว ปริมาณ
2. การใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ การเลือกสรรเทคโนโลยีที่เหมาะสมทั้ง ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์
3. การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ในที่ที่เดียวกัน
4. การใช้ประโยชน์จากตัวแบบ การสร้างตัวแบบสำหรับการตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ

โครงสร้างของระบบสารสนเทศ มีโครงสร้างคล้ายรูปพีระมิด
1. ระดับล่าง (Transaction Processing) การนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผลข้อมูลรายการ ต่าง ๆ
2. ระดับที่สอง (Operation Control) การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับล่าง
3. ระดับที่สาม (Management Control) การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร ระดับกลาง
4. ระดับที่สี่ (Strategic Planning) การใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง


ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศ สารสนเทศในองค์การประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
1. ข้อมูลนำเข้า (Input) ข้อมูลต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่ระบบ เพื่อประมวลผลในระบบ
2. ส่วนกระบวนการ (Processing) ใช้ในการคำนวณ หรือประมวลผลงานต่าง ๆ โดยการแปรสภาพ ข้อมูล
3. รายงานที่ได้ (Output) เป็นผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการจากระบบซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ของระบบ เพื่อใช้ในการตัดสินใจ
4. ส่วนป้อนกลับ (Feedback) เป็นการนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของผลลัพธ์ย้อนกลับเข้าสู่ระบบอีกครั้ง

ข้อมูล และสารสนเทศ
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติที่ใช้แทนตัวเลข ภาษา หรือสัญลักษณ์ มี 3 ประเภท
1. 1. ข้อมูลจำนวน (Numeric Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวเลข นำมาคำนวณได้
1. 2. ข้อมูลอักขระ (Character Data) คือ ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร และสัญลักษณ์ที่นำมาคำนวณไม่ได้
1.3. ข้อมูลภาพ (Image Data) คือ ข้อมูลที่ปรากฏต่อคอมพิวเตอร์เหมือนภาพถ่าย
สารสนเทศ (Information) คือ ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่ได้รับการประมวลผลแล้วด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน นำมาใช้ประโยชน์ แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่งข้อมูล
1. แหล่งข้อมูลภายในองค์กร - เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายในองค์กร สามารถนำข้อมูลผลิตเป็นสารสนเทศ ที่ใช้ภายในองค์กรได้
2. แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กร - เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร นำมาผลิตเป็นสารสนเทศ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถกำหนดการปฏิบัติการ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลทั้งสองแหล่ง สามารถใช้ วิธีการรวบรวมได้2 รูปแบบ คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) ผู้ใช้จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเอง โดยวิธีการต่าง ๆ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้อื่นได้รวบรวมเอาไว้แล้วและนำมา ใช้ประโยชน์